วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการอ่านครั้ง ๓๔

วันที่ ๑ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑

นกแก้ว





    เป็นนกที่มีความแตกต่างกันมากทางสรีระ คือมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่ (19-100 เซนติเมตร) มีหัวกลมโต ลำตัวมีขนอุยปกคลุมหนาแน่น ขนมีแกนขนรอง ต่อมน้ำมันมีลักษณะเป็นพุ่มขน ผิวหนังค่อนข้างหนา มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากนกอันดับอื่น ๆ คือ จะงอยปากที่สั้นหนา และทรวดทรงงอเป็นตะขอหุ้มปากล่าง มีความคมและแข็งแรง อันเป็นที่ของชื่อสามัญ ใช้สำหรับกัดแทะอาหารและช่วยในการปีนป่าย เช่นเดียวกับกรงเล็บ รูจมูกไม่ทะลุถึงกัน สันปากบนหนาหยาบและแข็งทื่อ ขนปลายปีกมี 10 เส้น ขนกลางปีกมี 8-14 เส้น ไม่มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขนหางมี 12-14 เส้น หน้าแข้งสั้นกว่าความยาวของนิ้วที่ยาวที่สุด แข้งปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดร่างแห นิ้วมีการจัดเรียงแบบนิ้วคู่สลับกัน คือ เหยียดไปข้างหน้า 2 นิ้ว (นิ้วที่ 2 และ 3) และเหยียดไปข้างหลัง 2 นิ้ว (นิ้วที่ 1 และนิ้วที่ 4) ซึ่งนิ้วที่ 4 สามารถหมุนไปข้างหน้าได้
เป็นนกที่อาศัยและหากินบนต้นไม้ กินผลไม้และเมล็ดพืช บินได้ดีและบินได้เร็ว พบอาศัยอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง ทำรังตามโพรงต้นไม้ ไข่สีขาว ลักษณะทรงกลม วางไข่ครั้งละ 2-6 ฟอง ลูกนกแรกเกิดมีสภาพเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ พบกระจายพันธุ์ตามเขตร้อนทั่วโลก ในบางชนิดมีอายุยืนได้ถึง 50 ปี โดยเฉพาะนกแก้วชนิดที่มีขนาดใหญ่ และจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า นกแก้วขนาดใหญ่มีความเฉลียวฉลาดเทียบเท่ากับเด็กอายุ 4 ขวบ
เป็นนกที่มนุษย์รู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องด้วยนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถฝึกหัดให้เลียนเสียงตามแบบภาษามนุษย์ในภาษาต่าง ๆ ได้ ประกอบกับมีสีสันต่าง ๆ สวยงามตามชนิด ซึ่งนกแก้วไม่มีกล่องเสียง แต่การส่งเสียงมาจากกล้ามเนื้อถุงลมและแผ่นเนื้อเยื่อ เมื่ออวัยวะส่วนนี้เกิดการสั่นสะเทือน จึงเปล่งเสียงออกมาได้แบ่งออกได้ราว 360 ชนิด ใน 80 สกุล
ในประเทศไทยพบเพียงวงศ์เดียว คือ Psittacidaeหรือนกแก้วแท้ พบทั้งหมด 7 ชนิด ใน 3 สกุล อาทิ นกแขกเต้า (Psittacula alexandri), นกแก้วโม่ง (P. eupatria) เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม มีนกเพียงชนิดเดียวในอันดับนี้ที่บินไม่ได้ และหากินในเวลากลางคืนด้วย คือ นกแก้วคาคาโป (Strigops habroptila) ที่พบเฉพาะบนเกาะนิวซีแลนด์เท่านั้น โดยเป็นนกรูปร่างใหญ่ บินไม่ได้ นอกจากจะหากินในเวลากลางคืนแล้ว ยังมีเสียงร้องประหลาดที่คล้ายกบหรืออึ่งอ่างอีกด้วย ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว 
ที่มา : ไพศาล.นกแก้ว.กรุงเทพฯ:แสงดาว,๒๔๔๓

บันทึกการอ่านครั้งที่ ๓๓

วันที่ ๑ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๑

ฝน



     ฝน เป็นการตกของน้ำจากฟ้าแบบหนึ่ง นอกจากฝนแล้ว น้ำยังตกในรูปหิมะ เกล็ดน้ำแข็ง ลูกเห็บน้ำค้าง ฝนอยู่ในรูปหยดน้ำซึ่งตกมายังพื้นผิวโลกจากเมฆ ฝนบางส่วนระเหยเป็นไอก่อนตกลงถึงผิวโลก ฝนชนิดนี้เรียกว่า "virga"
ฝนที่ตกเป็นส่วนสำคัญหนึ่งของวัฏจักรของน้ำ ซึ่งน้ำจากผิวน้ำในมหาสมุทรระเหยกลายเป็นไอควบแน่นเป็นละอองน้ำในอากาศ ซึ่งรวมตัวกันเป็นเมฆ และในที่สุดตกเป็นฝน ไหลลงแม่น้ำ ลำคลองไปทะเล มหาสมุทร
ปริมาณน้ำฝนนั้นวัดโดยใช้มาตรวัดน้ำฝน โดยวัดความลึกของน้ำที่ตกสะสมบนพื้นผิวเรียบ สามารถวัดได้ละเอียดถึง 0.25 มิลลิเมตร บางครั้งใช้หน่วย ลิตรต่อตารางเมตร (1 L/m² = 1 mm)
ฝนเม็ดเล็กจะมีรูปเกือบเป็นทรงกลม ส่วนเม็ดฝนที่ใหญ่ขึ้นจะมีรูปร่างที่ค่อนข้างแบนคล้ายแฮมเบอร์เกอร์ ส่วนเม็ดที่ใหญ่มาก ๆ นั้นจะมีรูปร่างคล้ายร่มชูชีพ เม็ดฝนเฉลี่ยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ถึง 2 มิลลิเมตร เม็ดฝนใหญ่ที่สุดที่ตกลงถึงผิวโลก ตกที่ประเทศบราซิล และหมู่เกาะมาร์แชลล์ ใน ค.ศ. 2004 โดยมีขนาดใหญ่ถึง 10 มิลลิเมตร เม็ดฝนมีขนาดใหญ่เนื่องจากละอองน้ำในอากาศมีขนาดใหญ่ หรือเกิดการรวมตัวกันของเม็ดฝนหลายเม็ด จากความหนาแน่นฝนที่ตกลงมา
ปกติฝนมีค่า pH ต่ำกว่า 6 เล็กน้อย เพราะรับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเข้ามาซึ่งเกิดเป็นกรดคาร์บอนิก[ต้องการอ้างอิง] ในพื้นที่ทะเลทรายฝุ่นในอากาศมีปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตสูง ซึ่งส่งผลต่อต้านความเป็นกรด ทำให้ฝนนั้นมีค่าเป็นกลางหรือเบส ฝนที่ค่า pH ต่ำกว่า 5.6 ถือเป็น ฝนกรด
ที่มา : กัญญ์ชลา.ฤดูฝน.กรุงเทพฯ:แสงดาว,๒๕๕๓

วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๓๒

วันที่ ๒๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑

เงาะ 


       เงาะ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่าเงาะป่า(นครศรีธรรมราช), พรวน (ปัตตานี), กะเมาะแต มอแต อาเมาะแต (มาเลย์ปัตตานี) เป็นต้น
      เงาะเป็นผลไม้เมืองร้อน มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย และแพร่ขยายมาปลูกในบ้านเราในภายหลัง ซึ่งนิยมปลูกในภาคใต้และภาคตะวันออก สายพันธุ์ที่นิยมเพาะปลูกมากที่สุดก็ได้แก่ พันธุ์โรงเรียน (เงาะโรงเรียน) พันธุ์สีทอง พันธุ์สีชมพู เป็นต้น ส่วนสายพันธุ์อื่น ๆ ก็มีปลูกกันบ้างประปราย

ประโยชน์ของเงาะ

  1. เงาะมีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส
  2. ช่วยรักษาอาการอักเสบในช่องปาก
  3. ช่วยแก้อาการท้องร่วงรุนแรงอย่างได้ผลเงาะ
  4. ช่วยรักษาโรคบิด ท้องร่วง
  5. ใช้เป็นยาแก้อักเสบ
  6. ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  7. ประโยชน์ของเงาะ สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น การทำเงาะกระป๋อง เงาะกวน เป็นต้น
  8. เงาะมีสารแทนนิน ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ย้อมสีผ้า บำบัดน้ำเสีย ทำปุ๋ย และกาว เป็นต้น
  9. สารแทนนิน (tannin)ช่วยป้องกันแมลง ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ใช้ทำเป็นยารักษาโรค

คุณค่าทางโภชนาการของเงาะกระป๋องน้ำเชื่อมต่อ 100 กรัม

  • ประโยชน์ของเงาะพลังงาน 82 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 20.87 กรัม
  • เส้นใย 0.21 กรัม
  • ไขมัน 0.65 กรัม
  • โปรตีน 2.5 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.013 มิลลิกรัม 1%
  • วิตามินบี 2 0.022 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 3 1.352 มิลลิกรัม 9%
  • วิตามินบี 6 0.02 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 9 8 ไมโครกรัม 2%
  • วิตามินซี 4.9 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุแคลเซียม 22 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุเหล็ก 0.35 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุแมกนีเซียม 7 มิลลิกรัม 2%
  • ธาตุแมงกานีส 0.343 มิลลิกรัม 16%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 9 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุโพแทสเซียม 42 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม 1%


  • โทษของเงาะ เงาะมีสารแทนนิน (Tannin) ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในกระเพาะอาหาร การรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจจะทำให้ท้องอืดหรือท้องผูกได้ (ระวังอ้วนด้วยล่ะ) เพราะฉะนั้นควรรับประทานอย่างพอประมาณ เพื่อที่ร่างกายจะได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด
เมล็ดเงาะมีพิษ ห้ามรับประทานเพราะอาจจะอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และมีไข้ได้ ถึงแม้จะนำไปคั่วจนสึกแล้วก็ตาม ก็ยังเป็นอันตรายอยู่ดี !

ที่มา : สมศิริ แสงโชติ.เรื่องน่ารู้...ไม้ผล.กรุงเทพฯ:มหาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเกษตร ภาควิชาโรคพืช,๒๕๔๒

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๓๑

วันที่ ๒๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑

สตรอเบอร์รี่

          สตรอเบอร์รี่ (Strawberry) หลายๆคนคงเข้าใจว่าสตรอเบอร์รี่เป็นผลไม้ แต่ที่จริงแล้วสตรอเบอร์รี่นั้นอยู่ในพืชสกุลเดียวกับดอกไม้และอยู่ในวงศ์เดียวกับดอกกุหลาบ ผลของมันสามารถนำมารับประทานได้ และมีมากกว่า 20 สายพันธุ์ แถมยังมีสายพันธุ์ที่ถูกตัดแต่ง และผสมอีกมากมายหลายสายพันธุ์ ปัจจุบันสรอเบอร์รี่ปลูกอยู่ได้เกือบทุกสภาพอากาศทั่วโลก ที่สำคัญต้องมีอากาศเย็นตลอดปี และสูงกว่าระดับน้ำทะเล 800 เมตร

มาพูดถึงประโยชน์ของมันกัน
 1. ส่งเสริมการทำงานของสมอง
         ที่ส่งเสริมการทำงานของสมองได้นั้นเพราะในสตรอเบอร์รี่ นั้นมี วิตามินซีและไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) ซึ่งทำให้อนุมูลอิสระน้อยลง เพราะเจ้า อนุมูลอิสระนั้นทำให้เนื้อเยื่อและเส้นประสาทเสื่อมสภาพลง ไม่พอแค่นั้นยังมีไอโอดินที่ช่วยให้สมองทำงานได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพอีกด้วย
  2.ดูแลสายตา
         ปัจจัยหลายๆอย่างที่ทำให้ตาของเรานั้นเสื่อมสภาพลง และปัญหาส่วนใหญ่นั้นเกิดจากอนุมูลอิสระ และการขาดสารอาหาร ยิ่งถ้าหากเรามีอายุมาก ยิ่งทำให้สายตาเราเสื่อมลงได้อย่างรวดเร็ว สตรอเบอร์รี่นั้นมีความสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ เพราะมี วิตามิน ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) กรดฟีโนลิกส์ และมีอีกหลายตัว ที่ช่วยในการลดและชะลอการเกิดอนุมูลอิสระได้ แถมยังช่วยให้ปรับความดันในตาให้กลับมาเป็นปกติ
 3.ป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง
       เพราะอนุมูลอิสระนั้นเป็นตัวที่ส่งเสริมให้เกิดโรคมะเร็งหลายๆชนิด ดังนั้นหากเราลด และชะลอการทำงานของอนุมูลอิสระ ก็ช่วยปกกันและรักษาโรคมะเร็งได้เช่นกัน
 4.ลดความดันโลหิต
       คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง คงชอบ เพราะสตรอเบอร์รี่นั้นมี โพแทสเซียม(Potassium) และแมกนีเซียม (Magnesium) ที่ช่วยให้ปรับความดันโลหิตกลับสู่สภาวะปกติ
 5.ปราศจากโรคหัวใจ
       วิตามิน ใยอาหาร โฟเลต รวมไปถึงสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในสตอรเบอร์รี่ ช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย และเสริมกล้ามเนื้อหัวใจให้อีกด้วย

ที่มา : ดร.ณรงค์ชัย พิพัฒน์ธนวงศ์.สตรอเบอร์รี่พืชเศรษฐกิจใหม่.กรุงเทพฯ:สถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบเศรษฐกิจ,๒๕๔๓

วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๓๐

วันที่ ๑๕ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑

บุหรี่ไฟฟ้า


         บุหรี่ไฟฟ้า คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งซึ่งใช้แบตเตอรี่ในการทำงานเพื่อสร้างความร้อนและไอน้ำที่ประกอบไปด้วยสารต่าง ๆ เช่น นิโคติน (Nicotine) โพรไพลีนไกลคอล (Propylene Glycol) กลีเซอรีน (Glycerine) สารแต่งกลิ่นและรส (Flavoring) และน้ำ เมื่อเปิดเครื่องจะมีไฟสีแดงขึ้นพร้อมกับการทำงานของแบตเตอรี่ เกิดความร้อนทำให้น้ำยาที่บรรจุอยู่ภายในระเหยขึ้นมาเป็นควัน เมื่อสูบเข้าไปในปอดร่างกายจะได้รับนิโคตินก่อนที่จะถูกพ่นออกมา ไม่มีควันจากการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ปกติทั่วไป บุหรี่ไฟฟ้าจึงไม่มีส่วนประกอบของน้ำมันดินหรือทาร์ (Tar) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

     ส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้า
บุหรี่ไฟฟ้าในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานการผลิตที่เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน จึงทำให้ยากที่จะตอบได้ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายบุหรี่ปกติทั่วไป หรืออาจดัดแปลงให้มีลักษณะต่างออกไป ซึ่งส่วนประกอบหลักของบุหรี่ไฟฟ้าแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ แบตเตอรี่ (Battery) ตัวที่ทำให้เกิดไอและความร้อน (Atomizer) และตลับเก็บน้ำยา (Cartridge)
บุหรี่ไฟฟ้าจะทำงานได้ไม่เต็มรูปแบบถ้าขาดน้ำยาสำหรับบุหรี่ไฟฟ้า (E-Liquid หรือ E-Juice) ซึ่งบรรจุอยู่ในตลับเก็บน้ำยาเพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการทำความร้อนก่อนกลายเป็นไอที่ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าสูบเข้าไปในปอด ส่วนผสมที่พบมากในน้ำยา E-Liquid หรือ E-Juice มีดังนี้
  • นิโคติน (Nicotine) เป็นสารสกัดจากใบยาสูบและเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่พบได้ในทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ปกติทั่วไป นิโคตินจะทำให้ร่างกายเสพติดการใช้บุหรี่ และจะเข้าไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มความดันโลหิต เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจได้ ระดับนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ เปอร์เซ็นต์ มิลลิกรัม และระดับความเข้มข้น ได้แก่ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับต่ำ
  • โพรไพลีนไกลคอล (Propylene Glycol) เป็นสารสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่องค์การอาหารและยา (FDA) ยืนยันถึงความปลอดภัยว่าใช้ได้ทั้งในอาหาร ยา และเครื่องสำอาง รวมถึงนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการสร้างไอหรือหมอกสำหรับเวทีการแสดงต่าง ๆ แต่เมื่อสัมผัสหรือสูดดมเข้าไปอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ดวงตาและปอดได้ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพอง
  • กลีเซอรีน (Glycerine) เป็นสารที่ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น แต่มีรสชาติหวานเล็กน้อย องค์การอาหารและยา (FDA) ยืนยันถึงความปลอดภัยว่าใช้ได้ทั้งในอาหารและยา แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย เช่นเดียวกันกับโพรไพลีนไกลคอล
  • สารแต่งกลิ่นและรส (Flavoring) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารทั่วไป มีความปลอดภัยเมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย ตัวอย่างเช่น สารไดอะซิติล (Diacetyl) ที่พบมากในเนยสำหรับทำป็อปคอร์น อาจเป็นสาเหตุของปัญหาระบบทางเดินหายใจและปอด

   ข้อดีของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า
บุหรี่ไฟฟ้ามีข้อดีที่แตกต่างจากการใช้บุหรี่ปกติทั่วไป เช่น บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีควันจากการเผาไหม้เหมือนในบุหรี่ปกติทั่วไป ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีส่วนประกอบของน้ำมันดินหรือทาร์ (Tar) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) หรือสารพิษอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมองแตก และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ ยังตรวจพบสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในระดับที่ต่ำกว่าบุหรี่ปกติทั่วไปอีกด้วย
  ข้อเสียของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า
ใบยาสูบคือสิ่งที่ทำให้บุหรี่ปกติทั่วไปแตกต่างจากบุหรี่ไฟฟ้า แต่นิโคตินยังคงเป็นส่วนประกอบหลักในบุหรี่ไฟฟ้าและเป็นสารเสพติดที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น กระตุ้นสมอง ทำให้เกิดอาการมึนงง กระตุ้นหัวใจทำให้อัตราการทำงานของหัวใจเพิ่มขึ้น หัวใจทำงานหนัก เกิดภาวะหัวใจวาย ทำให้เส้นเลือดหดตัวซึ่งส่งผลให้เกิดความดันในเลือดสูงขึ้น เส้นเลือดในสมองแตก ปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ หายใจเร็ว เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด มีความผิดปกติทางอารมณ์ สมาธิและความคิด ปัญหาของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นต้น เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาในประเทศไทยได้ไม่ถึง 10 ปี แพทย์จึงยังไม่ทราบผลเสียหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกายในระยะยาว



ที่มา : สุรเทพ  วิจิตเนตร.บุหรี่ไฟฟฟ้า.กรุงเทพฯ:กรีนปัญญาญาณ,๒๕๕๙



วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๒๙

วันที่ ๑๕ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑

สมอง


    สมอง (อังกฤษ: Brain) คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วยสมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหวพฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษย์

   ส่วนประกอบ
ระบบประสาทแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.ระบบประสาทส่วนกลาง
1.1.สมอง (Brain)บรรจุอยู่ภายในกะโหลกศีรษะ สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
สมองส่วนหน้าผาก (Forebrain)
มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้อีก ดังนี้
  1. Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวการออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์
  2. Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยินการดมกลิ่น
  3. Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
  4. Parietal lobe ทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส การพูด การรับรส
สมองส่วนกลาง (Midbrain)
เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน
สมองส่วนท้าย (Hindbrain)
ประกอบด้วย
  • พอนส์ (Pons) - อยู่ด้านหน้าของซีรีเบลลัม ติดกับสมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของร่างกาย เช่น การเคี้ยวอาหาร การหลั่งน้ำลาย การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า การหายใจ การฟัง
  • เมดัลลา (Medulla) - เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอจาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
  • ซีรีเบลลัม (Cerebellum) - อยู่ใต้เซรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

ที่มา : สุเทพ ไวศิริ.Brain(สมอง).กรุงเทพฯ:คัมออน,๒๕๕๘