วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๓

วันที่ ๑๖ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐


สารพิษในอาหาร


 สารบอแรกซ์ (Borax)
ลักษณะ
    เป็นผงสีขาวมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น น้ำประสานทอง สารข้าวตอก ผงกันบูด เพ่งแซ ผงเนื้อนิ่มสารบอแรกซ์ เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น
  ๑)ทำแก้ว เพื่อทำให้ทนความร้อน
  ๒)เป็นสารประสานในการเชื่อมทอง
  ๓)เป็นสารหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราในแป้งทาตัว เป็นต้น
  แต่แม่ค้ามักนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีความหยุ่นกรอบ คงตัวได้นาน ไม่บูดเสียง่าย อาหารที่มักพบว่ามีสารบอแรกซ์ ได้แก่ หมูบด ลูกชิ้น ทอดมัน หมูสด เนื้อสด ไส้กรอก ผลไม้ ดองทับทิมกรอบ ลอดช่อง เป็นต้น
   


 พิษของสารบอแรกซ์
เกิดได้สองกรณี คือ

   ๑.แบบเฉียบพลัน จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ หงุดหงิด ผิวหนังอักเสบ ผมร่วง ส่วนอีกกรณีคือ
   ๒.แบบเรื้อรัง จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ผิวหนังแห้ง หน้าตาบวม เยื่อตาอักเสบ ตับไตอักเสบ

ที่มา : นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์.สารพิษในอาหาร.กรุงเทพฯ:ไทยวัฒนาพานิช,๒๕๓๙


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น