วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๔

วันที่ ๑๖ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐


ไส้เลื่อน 




      
         ไส้เลื่อน (hernia) เป็นภาวะที่ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ อวัยวะภายในหรือเนื้อเยื่อบางส่วนเคลื่อนตัวออกจากตำแหน่งเดิมผ่านช่องทางปกติ 

ตำแหน่งของไส้เลื่อนที่พบบ่อย
       ๑.ไส้เลื่อนที่สะดือ
       ๒.ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (พบบ่อยที่สุด)
            -ไส้เลื่อนถุงอัณฑะ
            -ไส้เลื่อนบริเวณต้นขา
       ๓.ไส้เลื่อนที่เกิดจากแผลผ่าตัด

อาการของผู้เป็นไส้เลื่อนทั่วไป
     จะมีอาการปวดท้อง ตื้อๆ หน่วงๆ เป็นๆ หายๆ คลื่นไส้ อาเจียนและอาจจะเกิดอาการปวดอย่างเฉียบพลัน ถึงขั้นลำไส้เล็กขาด จึงต้องมีการผ่าตัดทีนที เพราะถ้าลำไส้ที่ขาดเลือดอาจจะทำให้ลำไส้เน่า และเกิดภาวะแทรกซ้อนถึงขั้นเสียชีวิต

ปัจจัยในการเกิดไส้เลื่อน ที่สำคัญมี ๒ ประเภท
     ๑.การมีแรงดันในช่องท้องที่เพิ่มขึ้น ได้แก่
           -การไอเรื้อรัง
           -ภาวะอ้วน
           -การตั้งครรภ์
           -การยกของหนัก
           -การเบ่งอุจจาระเป็นประจำเนื่องจากท้องผูก
           -ต่อมลูกหมากโต ออกแรงเบ่งปัสสาวะมาก
     ๒.ความอ่อนแอของผนังหน้าท้อง
    เกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
           -ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
           -ความแข็งแรงของผนังหน้าท้องลดลงตามอายุที่มากขึ้น
           -เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้หน้าท้องบาดเจ็บ
           -การผ่าตัดช่องท้อง
           -การสูบบุหรี่

ที่มา : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.ไส้เลื่อน.พิมพ์ครั้งที่๑.นนทบุรี:บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์,๒๕๕๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น