วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๘

วันที่ ๓๐ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐

ขยะมูลฝอย


   
        ในชีวิตประจำวันของเรา มีสิ่งของที่หมดประโยชน์ใช้สอยมากมาย หมดคุณภาพหรือชำรุดแตกหักมากมาย สิ่งของทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นวัสดุชิ้นเล็กๆ เช่น เศษกระดาษ เศษอาหาร เศษผ้า แก้วแตก หลอดไฟที่เสียแล้ว หรือวัสดุชิ้นใหญ่ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ที่ชำรุดหักพัง พัดลมหรือตู้เย็น ที่เสียใช้การไม่ได้ เรียกว่า "ขยะมูลฝอย" ทั้งสิ้น เราพบขยะมูลฝอยได้ตามบ้าน เรือนที่พักอาศัย ร้านค้า ตลาด โรงเรียน โรงพยาบาล ตามท้องถนน และในแม่น้ำ ลำคลองทั่วไป ขยะมูลฝอยเหล่านี้ ถ้าทิ้งกระจัดกระจายไม่เป็นที่เป็นทาง จะทำให้บ้านเมืองสกปรก ไม่เป็นระเบียบ ขยะมูลฝอยที่บูดเน่า นอกจากจะส่งกลิ่นเหม็นรบกวนผู้อื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ต่างๆอีกด้วย

เราอาจแยกขยะมูลฝอยออกเป็น ๕ ประเภท ได้แก่
๑.เศษอาหารและพืชผัก ที่เหลือจากการรับประทานและการประกอบอาหาร
๒.เศษแก้วแตก กระเบื้องแตก เศษวัสดุก่อสร้าง เช่น ไม้ อิฐ หิน
๓.วัสดุชิ้นใหญ่ เช่น รถจักรยานพัง หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้การไม่ได้ ฯลฯ
๔.วัสดุที่มีสารพิษ เช่น หลอดไฟ หลอดนีออน แบตเตอรี่ ที่ใช้การไม่ได้ วัสดุติดเชื้อต่างๆ เช่น ขยะมูลฝอยที่เก็บได้จากโรงพยาบาลและวัสดุสารเคมีจากโรงงาน
๕.วัสดุที่ยังมีสภาพดี เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ กล่องกระดาษ ขยะมูลฝอยประเภทนี้อาจนำไปขายได้

ที่มา : ไพบูลย์ แจ่มพงษ์.ขยะมูลฝอย.กรุงเทพ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,ม.ป.ป.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น