วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

บันทึกการอ่านครั้งที่ ๒๖

วันที่ ๓๑ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๑

ผีเสื้อ



        เป็นแมลงทุกชนิดใน อันดับเลพิดอปเทรา (Lepidoptera) มีวงชีวิตเริ่มแรกตั้งแต่ระยะไข่ ระยะหนอน ระยะดักแด้ ตราบจนระยะการเปลี่ยนสัณฐานเข้าสู่ระยะการโตเต็มวัยที่มีปีกหลากสีต้องตาผู้คน ในทางกีฏวิทยาการจัดจำแนกแมลงกลุ่มนี้จะใช้เส้นปีกในการจัดจำแนก

วงจรชีวิต




การเจริญเติบโตของผีเสื้อแตกต่างจากบรรดาแมลงชนิดอื่นทั้งหลาย โดยปรากฏเป็นจตุวัฏจักร ดังนี้ คือ
  1. ระยะไข่ (Egg Stage)
  2. ระยะหนอนหรือบุ้ง (Caterpillar Stage หรือ Larva Stage)
  3. ระยะดักแด้ (Pupa Stage หรือ Chrysalis Stage)
  4. ระยะเจริญวัย (Adult Butterfly Stage หรือ Imago Stage)
อนึ่ง มีความเชื่ออย่างแพร่หลายว่าผีเสื้อมีวงจรชีวิตสั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ผีเสื้อบางพันธุ์อาจมีอายุเพียงหนึ่งสัปดาห์ ในขณะที่บางพันธุ์มีอายุยืนถึงหนึ่งปี โดยส่วนใหญ่จะมีอายุยาวนานในระยะบุ้ง ในขณะที่แมลงชนิดอื่นอาจหยุดการเจริญเติบโตได้ในระยะไข่หรือระยะดักแด้แล้วจึงดำเนินชีวิตต่อไปในฤดูหนาว

                                                    ระยะไข่

           ไข่ของผีเสื้อมีลักษณะของขนาด รูปร่าง สีสัน และลวดลายแตกต่างกันไป โดยขนาดของไข่นั้นจะเล็กมาก ดังนั้นจำเป็นต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ในการศึกษาไข่ของผีเสื้อ เปลือกไข่ประกอบด้วยสารไคติน ที่เป็นสารชนิดเดียวกับเปลือกลำตัวของผีเสื้อและแมลงชนิดอื่นๆ และเมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์จะพบรูเปิดเล็กๆ เรียกว่า ไมโครพายล์ (micropyle) เป็นรูที่ทำให้น้ำเชื้อตัวผู้เข้าไปผสมกับไข่ของตัวเมียได้

                                                        ระยะหนอน


ระยะที่คนเราเรียกว่า หนอน มีหลากหลายสี หลังจากตัวหนอนฟักออกจากไข่แล้ว ตัวหนอนมีลักษณะที่แตกต่างกัน อาหารอย่างแรกที่ตัวหนอนกินคือ เปลือกไข่ของตัวเอง หลังจากนั้นตัวหนอนจึงเริ่มกินใบพืช โดยเริ่มที่ใบอ่อนก่อน ซึ่งลักษณะการกินของตัวหนอนจะเริ่มจากขอบใบเข้าหากลางใบ และจะมีการลอกคราบเพื่อขยายขนาด 4-5 ครั้ง โดยตลอดระยะเวลาที่เป็นตัวหนอนนี้ มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น นอกจากขนาดที่ใหญ่ขึ้นแล้ว บางชนิดสีสันและรูปร่างก็แตกต่างกันไปด้วย เช่น หนอนผีเสื้อหางติ่ง หนอนมะนาว ในระยะแรกๆ สีสันก็เหมือนมูลนก แต่เมื่อตัวหนอนโตขึ้นสีสันจะเปลี่ยนไป เป็นสีเขียวมีลวดลายคล้ายตาที่ส่วนอกด้วย เป็นต้น แต่ทั้งหมดมีสิ่งหนึ่งซึ่งทำให้สามารถจำแนกว่าเป็นตัวหนอนผีเสื้อได้คือ ตัวหนอนมีขาจริง 3 คู่ที่ส่วนอก และขาเทียม 4-5 คู่ที่ส่วนท้อง ตัวหนอนทั่วไปมักหากินเดี่ยวๆ แต่ก็มีบางชนิดทีระยะแรกๆ หากินกันเป็นกลุ่ม ในระยะนี้ใช้เวลาทั้งสิ้น 15 วัน แมลงที่ลงทำลายพืชผลทางการเกษตรก็จะเป็นวัยนี้เกือบทั้งสิ้น

                                                    ระยะดักแด้

เมื่อตัวหนอนโตเต็มที่จะต้องมองหาสิ่งที่ที่จะลอกคราบเพื่อเข้าดักแด้ ซึ่งจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่ภายในเปลือกดักแด้ การพัฒนาต่างๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา เป็นระยะที่มีการสะสมอาหารไว้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นที่ดึงดูดบรรดาตัวเบียนต่างๆ ตัวหนอนของผีเสื้อแต่ละชนิดจะเลือกที่เข้าดักแด้ต่างกันไป ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน

                                                  ระยะเจริญวัย

ระยะเจริญวัยคือผีเสื้อที่มีสีสันสวยงาม เริ่มต้นนับตั้งแต่ออกจากดักแด้ โดยผีเสื้อใช่ขาดันเปลือกดักแด้ให้ปริแตกออก และผีเสื้อที่มีปีกยับยู่ยี่จะออกมา ในลักษณะห้อยหัวลงพร้อมถ่ายของเสียที่เป็นสีชมพูออกมา ในระยะแรกปีกของผีเสื้อยังไม่สามารถแผ่ได้ จำเป็นต้องมีการปั้มของเหลวเรียกว่า ฮีโมลิมพ์ เข้าไปในเส้นปีก และต้องใช้เวลา 1 ชั่วโมงในการทำให้ปีกแข็งพอที่จะใช้ในการบิน ผีเสื้อสามารถอยู่ได้ 2-3 วัน บางชนิดอยู่ได้ 1-2 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับชนิดและแต่ละช่วงอายุขัย

ที่มา : ไพโรจน์ เสนาวิตร.เรื่องของผีเสื้อ.กรุงเทพฯ:บงกช พับลิชชิ่ง,๒๕๕๖


บันทึกการอ่านครั้งที่ ๒๕

วันที่ ๓๑ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๑

เต่า


         
  • ต่า เป็นสัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน



  • อาหารของเต่า
          เต่า กินอาหารได้ทั้ง พืช และสัตว์ โดยเต่าบางชนิดก็จะกินแต่เฉพาะสัตว์
เช่น เต่าอัลลิเกเตอร์, เต่าสแนปปิ้ง (Chelydra serpentina) , เต่าปูลู (Platysternon megacephalum) เป็นต้น

  • เต่ากับมนุษย์
          โดยปกติแล้ว มนุษย์จะไม่ใช้เนื้อเต่าหรือไข่เต่าเป็นอาหาร แต่ก็มีบางพื้นที่หรือคนบางกลุ่มที่นิยมบริโภคเนื้อเต่าหรือเนื้อตะพาบ โดยเชื่อว่าเป็นอาหารบำรุงกำลัง เช่น ตะพาบน้ำตุ๋นยาจีน เป็นต้น โดยความเชื่อทั่วไปแล้ว เต่า ถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน คนไทยจึงมีความเชื่อว่าหากได้ปล่อยเต่าจะเป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์เชื่อต่ออายุให้ยืนยาว ดังนั้น จึงมักเห็นเต่าหรือตะพาบตามแหล่งน้ำในวัดบางแห่งเสมอ ๆ ในประเทศจีน หลักฐานทางโบราณคดี พบว่า สมัยราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์ซาง กระดองเต่า ถูกใช้เป็นเครื่องทำนายทางโหราศาสตร์ ในทางไสยศาสตร์ของไทย มีการใช้เต่าเป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ยันต์เต่าเลือน เป็นต้น

เต่า ในทางภาษาศาสตร์ของไทย ยังใช้เป็นพยัญชนะลำดับที่ ๒๑ โดยมักใช้เป็นตัวสะกด คือ ต.เต่า โดยเป็นตัวอักษรเสียงกลาง นอกจากนี้แล้ว เต่า ยังเป็นตัวแทนของความเชื่องช้า โง่งม จึงมีสำนวนทางภาษาในนัยเช่นนี้ เช่น โง่เง่าเต่าตุ่น เป็นต้น


ที่มา : ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร.เรื่องของเต่า.กรุงเทพฯ:กรมการประมง,๒๕๕๖






วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๒๔

วันที่ ๒๕ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๑


ลำไย





          ลำไย (มักเขียนผิดเป็น ลำใย) มีชื่อเรียกทางพื้นบ้านภาคเหนือว่า "บ่าลำไย" ชื่อภาษาอังกฤษว่า Logan อยู่ในวงศ์ Sapindaceae เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสีน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อ สีขาวครีม ผลทรงกลมเป็นช่อ ผลดิบเปลือกสีน้ำตาลอมเขียว ผลสุกสีน้ำตาลล้วน เนื้อลำไยสีขาวหรือชมพูอ่อน เมล็ดสีดำเป็นมัน เนื้อล่อนเม็ด


ประโยชน์ของลำไย
เปลือกของต้นมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาและมีรสฝาดใช้ต้มเป็นยาหม้อแก้ท้องร่วง ลำต้นมีขนาดใหญ่ สูงประมาณ 30-40 ฟุต เนื้อไม้มีสีแดงและแข็งสามารถใช้ทำเครื่องใช้ประดับบ้านได้ เนื้อลำไยกินสดเป็นผลไม้ ทำเป็นอาหารหวาน เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย วุ้นลำไย ลำไยลอยแก้ว น้ำลำไย หรือแปรรูป เช่น บรรจุกระป๋อง ตากแห้งสามารถทำเป็นชาชงดื่ม เป็นยาบำรุงกำลังช่วยให้หลับสบายเจริญอาหาร แต่ถ้ากินลำไยมากเกินไปจะเกิดอาการร้อนใน แผลในปาก หรือตาแฉะได้ในตำรายาจีนเรียกกุ้ยหยวน (ภาษาจีนกลาง) หรือ กุ้ยอี้ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใช้เป็นยาบำรุงเลือด กล่อมประสาท

คุณค่าทางอาหารของลำไย

  1. ลำไยสดทั่วไปประกอบด้วยน้ำ81.1%คาร์โบไฮเดรต16.98%โปรตีน0.97%เถ้า0.56%กาก0.28%และไขมัน 0.11%
  2. ในลำไยสด100กรัมจะมีค่าความร้อน72.8แคลอรีและมีวิตามิน69.2มิลลิกรัมแคลเซียม57มิลลิกรัมฟอสฟอรัส35.17มิลลิกรัมและธาตุเหล็ก0.35มิลลิกรัม
  3. ลำไยแห้งประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 69.06%น้ำ 21.27%โปรตีน 4.61%เถ้า 3.33%กาก 1.50%และไขมัน 0.171%
  4. ลำไยแห้ง 100กรัมจะมีค่าความร้อน 296.1แคลอรี แคลเซียม 32.05มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 150.5มิลลิกรัมโซเดียม 4.78มิลลิกรัม เหล็ก 2.85มิลลิกรัม โพแทสเซียม 1390.3มิลลิกรัม กรดแฟนโทซินิค 0.72มิลลิกรัมวิตามินบี 12จำนวน 1.08มิลลิกรัม
ในเมล็ดลำไยมีปริมาณโปรตีนรวม 6.5% ปริมาณไขมันรวม1.94% และปริมาณเยื่อใยรวมเป็น 8.33% ค่าพลังงานที่ใช้ประโยชน์ได้จริงเป็น 3,365 kcal/kg สามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ได้ ในเปลือกหุ้มเมล็ดของลำไยมีปริมาณแทนนินสูง

ที่มา : โสภณ  สารพิตร.ลำไย.นครสวรรค์:นานมีบุ๊คก์,๒๕๕๖

วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๒๓

วันที่ ๒๕ เดือนมกราคม ๒๕๖๑

หัวใจ



หัวใจ เป็นอวัยวะกล้ามเนื้อซึ่งสูบเลือดทั่วหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยการหดตัวเป็นจังหวะซ้ำ ๆ พบในสัตว์ทุกชนิดที่มีระบบไหลเวียน ซึ่งรวมสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย
หัวใจสัตว์มีกระดูกสันหลังนั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นหลัก กล้ามเนื้อหัวใจเป็นกล้ามเนื้อลายที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ พบเฉพาะที่หัวใจ และทำให้หัวใจสามารถสูบเลือดได้
หัวใจมนุษย์ปกติเต้น 72 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะเต้นประมาณ 2,500 ล้านครั้งในช่วงอายุเฉลี่ย 66 ปี และสูบเลือดประมาณ 4.7-5.7 ลิตรต่อนาที หนักประมาณ 250 ถึง 300 กรัมในหญิง และ 300 ถึง 350 กรัมในชาย

การไหลเวียนเลือด



            
             หน้าที่หลักของหัวใจคือการสูบฉีดเลือดผ่านระบบไหลเวียนเพื่อไปเลี้ยงร่างกายทั้งร่าง การไหลเวียนนี้แบ่งออกเป็นการไหลเวียนเลี้ยงกายที่ส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายและรับเลือดที่ใช้แล้วกลับ และการไหลเวียนผ่านปอด ซึ่งส่งเลือดไปฟอกที่ปอดและรับเลือดกลับจากปอดมาหัวใจเพื่อเตรียมสูบฉีดต่อไปยังร่างกาย ขณะที่เลือดไหลเวียนผ่านปอดจะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซ รับเอาออกซิเจนเข้ามาในเลือด และส่งคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปยังปอดผ่านการหายใจ หลังจากนั้นระบบไหลเวียนกายจะส่งเลือดแดงที่มีออกซิเจนมากไปยังร่างกาย และรับเลือดดำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์มากและมีออกซิเจนน้อยกลับมายังปอด

ที่มา : สุรเชษฐ์  ธานามิตร.หัวใจ.กรุงเทพฯ:นานมีบุ๊คก์,๒๕๕๗


วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๒๒

วันที่ ๑๗ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๑



ประโยชน์ทั่วไปของว่านหางจระเข้
  1. ช่วยป้องกันการเกิดฝ้าได้เป็นอย่างดี เพียงนำว่านหางจระเข้มาใช้เป็นประจำทุกวัน
  2. ใช้วุ้นของว่านหางจระเข้ผสมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า จะช่วยรักษาอาการผมร่วงได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยป้องกันหนังศีรษะล้านได้
  3. นำวุ้นของว่านหางจระเข้มาชโลมลงบนเส้นผม จะทำให้เส้นผมมีความสลวย ผมดกและมีความเงางามมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นมันยังช่วยป้องกันปัญหาการเกิดรังแคบนหนังศีรษะ ช่วยบำรุงต่อมที่รากผมให้มีสุขภาพที่ดี และช่วยรักษาแผลที่เกิดจากการเกาบนหนังศีรษะได้อีกเช่นกัน
  4. มีผลการทดลองในการใช้วุ้นของว่านหางจระเข้มารักษาคนไข้ที่เป็นแผลกดทับได้จนเห็นผล
  5. ว่านหางจระเข้มีส่วนช่วยในการลบท้องลาบหลังคลอดบุตร โดยการใช้วุ้นของว่านหางจระเข้มาทาในบริเวณท้องเป็นประจำทั้งในขณะที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอด
  6. การใช้วุ้นของว่านหางจระเข้มาทาในบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอดเป็นประจำทุกวัน จะช่วยแก้เส้นเลือดขอดเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี
  7. สารที่อยู่ในว่านหางจระเข้ที่มีชื่อว่า Aloctin A เป็นสารที่สามารถรักษาโรคหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง โรคผิวหนัง หรือแม้แต่รักษาอาการแพ้ต่างๆ ได้เช่นกัน
  8. สามารถนำเอาวุ้นของว่านหางจระเข้มาทำเป็นของหวานเพื่อสุขภาพได้ เช่น วุ้นว่านหางจระเข้ลอยแก้ว วุ้นว่างหางจระเข้แช่อิ่ม หรือจะนำวุ้นว่านหางจระเข้มาปั่นเป็นเครื่องดื่มสุขภาพก็ได้
  9. ว่านหางจระเข้มีส่วนช่วยในการชะลอความแก่ชราได้ รวมทั้งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
  10. ว่านหางจระเข้เป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโนหลากหลายชนิด รวมทั้งสารอาหารชนิดต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย อีกทั้งยังให้ประโยชน์ในหลายด้านแก่สุขภาพของคนเรา เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 วิตามินบี 12 วิตามินซี วิตามินอีและโคลีน
  11. มีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร รวมทั้งช่วยทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ เสมือนเป็นการดีท็อกซ์ล้างสารพิษที่อยู่ภายในร่างกายให้หมดไป แถมยังช่วยให้ระบบการทำงานของกระเพาะอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นมันยังช่วยลดปริมาณของเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ได้เป็นอย่างดี
  12. สารสกัดจากว่านหางจระเข้นั้นมีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลภายในร่างกาย ช่วยในการควบคุมความดันโลหิต และยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ที่สำคัญยังสามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจได้
  13. การทานเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้ จะช่วยป้องกันและช่วยแก้อาการเมารถเมาเรือได้เป็นอย่างดี
  14. การนำวุ้นว่านหางจระเข้มาทาบริเวณผิวเป็นประจำทุกวัน จะเป็นการช่วยป้องกันอีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้
  15. ใครที่ต้องการมีผิวพรรณที่เนียนนุ่มและแลดูชุ่มชื้นตลอดเวลา ควรใช้ว่านหางจระเข้มาพอกให้ทั่วบริเวณผิวประมาณ 15 นาที แล้วจึงค่อยล้างออกด้วยน้ำสะอาด นอกจากนี้ ว่านหางจระเข้ยังช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้อย่างน่าพึงพอใจ
  16. ว่านหางจระเข้มีส่วนช่วยยับยั้งการติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิว อีกทั้งยังช่วยลดรอยดำจากสิวให้จางลง และยังช่วยลดความมันบนใบหน้าได้ เนื่องจากว่านหางจระเข้จะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ที่ช่วยลดความมันได้ แต่ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ที่เป็นสิวอักเสบ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  17. มีส่วนช่วยในการรักษาจุดด่างดำบนผิวหนังที่มาจากการเผชิญกับแสงแดดหรือจากการมีอายุที่มากขึ้น เพียงแค่นำวุ้นว่านหางจระเข้จากใบสดมาทาที่ผิววันละ 2 ครั้งหลังอาบน้ำ จะช่วยรักษาอาการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
ว่านหางจระเข้ 

สรรพคุณทางยาของว่านหางจระเข้



  1. ทานเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้งเป็นประจำทุกวันจะช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อให้ดีขึ้นกว่าเดิม
  2. นำวุ้นว่านหางจระเข้มารักษาแผลสด แผลจากการโดนของมีคม และแผลที่ริมฝีปาก โดยนำวุ้นมาแปะตรงบริเวณแผลให้มิดชิด ตามด้วยการใช้ผ้ามาปิดทับไว้
  3. ช่วยรักษาแผลถลอกและจากการถูกครูด ซึ่งแผลประเภทนี้จะให้ความเจ็บปวดอย่างมาก ดังนั้นจึงควรใช้วุ้นว่านหางจระเข้มาทาแผลแต่เพียงเบาๆ โดยเริ่มจากวันแรกควรทาบ่อยๆ เพื่อเป็นการสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น อีกทั้งยังไม่ทำให้มีอาการเจ็บแผลมาก
  4. นำว่านหางจระเข้มาฝานบางๆ แล้วนำไปแปะไว้ที่แผลไฟไหม้ แผลจากการโดนน้ำร้อนลวก จะช่วยบรรเทาอาการปวดของแผลได้ ทั้งนี้ยังช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น และยังช่วยในการดับพิษร้อน เพื่อบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนได้
  5. วุ้นว่านหางจระเข้ช่วยทำให้แผลเป็นจางลงได้เร็ว อีกทั้งยังสามารถป้องกันไม่ให้เกิดรอยแผลเป็นบนผิวได้ด้วย
  6. มีส่วนช่วยรักษาตาปลาและฮ่องกงฟุต โดยการใช้วุ้นจากใบว่านหางจระเข้มาล้างให้สะอาด จากนั้นนำมาปิดไว้ตรงบริเวณที่เป็น และควรหมั่นเปลี่ยนวุ้นว่านหางจระเข้บ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น
  7. นำวุ้นว่านหางจระเข้มาทาลงบนผิวก่อนออกไปเผชิญกับแสงแดด จะช่วยป้องกันผิวจากอันตรายของแสงแดดได้ แถมยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง ไม่ให้เกิดปัญหาผิวแห้งกร้านได้อีกเช่นกัน
  8. นำวุ้นว่านหางจระเข้มาทาผิวบ่อยๆ จะช่วยรักษาอาการผิวหนังไหม้จากแสงแดด ผิวหนังไหม้จากการฉายรังสี หรือจากการเป็นแผลเรื้อรังที่เกิดจากการฉายรังสีได้เช่นกัน
  9. รักษาฝ้าด้วยการนำวุ้นจากใบว่านหางจระเข้มารักษาให้จางลงได้
  10. วุ้นของว่านหางจระเข้ช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงิน ซึ่งมันจะช่วยลดการตกสะเก็ดและลดอาการคันของโรคดังกล่าวได้
  11. รับประทานเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้ จะช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถนำวุ้นมาทำเป็นเครื่องดื่มด้วยการปั่นวุ้นก็ได้เช่นกัน
  12. ว่านหางจระเข้จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะได้ เพียงตัดใบสดของว่านหางจระเข้ จากนั้นทาปูนแดงด้านหนึ่ง แล้วจึงนำเอาด้านที่ทาปูนไปปิดตรงขมับ วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้เป็นอย่างดี
  13. วุ้นว่านหางจระเข้มีส่วนช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะในขณะที่ท้องว่าง และช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารด้วยเช่นกัน
  14. นำว่านหางจระเข้มาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น แล้วนำมาทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ จะช่วยรักษากระเพาะลำไส้อักเสบ
  15. ในส่วนของเปลือกว่านหางจระเข้นั้นจะมีน้ำยางสีเหลือง ซึ่งในน้ำยางนั้นจะมีสารที่เรียกว่าสารแอนทราควิโนน ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ดังนั้นเมื่อนำน้ำยางไปเคี่ยวจนน้ำมันระเหยออกมา จากนั้นพักไว้ให้เย็น จะได้สารสีดำหรือที่เรียกว่ายาดำ ซึ่งยาตัวนี้จะเป็นยาที่อยู่ในตำรับยาแผนโบราณที่ใช้เป็นยาระบายอยู่ในหลายตำรา
  16. เอายางจากว่านหางจระเข้มาเคี่ยวให้งวด จากนั้นพักไว้ให้เย็นจะได้ก้อนยาสีดำ หลังจากนั้นตักมาประมาณ 1 ช้อนชา แล้วเติมน้ำเดือดประมาณ 1 ถ้วย คนจนละลาย นำมาทานก่อนนอน จะช่วยรักษาอาการท้องผูกได้ดี
  17. การใช้เนื้อวุ้นว่านหางจระเข้ที่ผ่านการเหลาให้เป็นปลายแหลมเพียงเล็กน้อย จากนั้นนำไปแช่ตู้เย็นไว้เพื่อให้วุ้นแข็งตัว แล้วนำไปเหน็บในช่องทวารหนัก จะช่วยรักษาโรคริดสีดวงได้ ทั้นี้ควรทำเป็นประจำวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าโรคดังกล่าวจะหาย
  18. ในส่วนของรากและเหง้าของว่านหางจระเข้นั้นจะมีส่วนช่วยในการแก้อาการหนองใน ช่วยแก้มุตกิด หรือที่หลายคนรู้จักในอีกชื่อคือระดูขาวของสตรี
ข้อควรระวัง : ก่อนใช้ว่าน ทอสอบดูว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขน ด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้
ที่มา : สุโรจน์ สารพิน.ว่านหางจระเข้.กรุงเทพฯ:มาร์เก็ตบุ๊ค,๒๕๕๕

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๒๑

วันที่ ๑๗ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๑

คุณประโยชน์ของแตงไทย




☆ ๑.ผลอ่อนของแตงไทยนิยมนำมารับประทานสด ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก ลาบ ทำแกงอ่อม ยำ  และทำเป็นแตงดอง แต่ส่วนมากไม่นิยมทำสุก
☆ ๒.สารสกัดจากผลดิบหรือผลสุก ใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอางค์ ช่วยบำรุงผิว และช่วยผลัดเซลล์ผิว
☆ ๓.ผลสุกมีรสหวานเปรี้ยว มีกลิ่นหอมแรง นิยมใช้ำแตงไทยน้ำเชื่อม บวชแตงไทยใส่ลอดช่อง ใส่ไอศกรีมเป็นต้น
☆ ๔.ยอดอ่อนจากต้นกล้าหรือยอดอ่อนจากต้นใหญ่ ใช้ปรุงอาหารจำพวกผัด แกง หรือลวกจิ้มน้ำพริก
☆ ๕.ดอก ใช้ทำแกงอ่อม แกงเลียง
☆ ๖.ดอก ใช้ตากแห้งและบดชงเป็นชาดื่ม


ที่มา : ศิริชัย วัยวุติ.คุณประโยชน์ของแตงไทย.กรุงเทพฯ:สถาพรบุ๊คก์,๒๕๕๖

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๒๐

วันที่ ๑๗ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๑

คุณประโยชน์ของกล้วยน้ำว้า




กล้วยน้ำว้า สรรพคุณ ประโยชน์ บำรุงร่างกายและสุขภาพ กล้วยน้ำว้าเป็นผลไม้ไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณเป็นภูมิปัญญาของไทย คนไทยรู้จักกล้วยน้ำว้าเป็นอย่างดี

สรรพคุณของกล้วยน้ำว้าช่วยป้องกันโรค
๑.กล้วยน้ำว้าช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ
๒.กล้วยน้ำว้าช่วยระงับกลิ่นปากได้
๓.กล้วยน้ำว้าสามารถรักษาโรคกระเพาะได้ เพราะในกล้วยน้ำว้ามีสารแทนนินอยู่มาก
๔.กล้วยน้ำว้าแก้ท้องผูก และสามารถแก้ท้องเดินหรือท้องเสียได้



ที่มา : ไพศาล ศิริวรรณ์.กล้วยน้ำว้า.นครปฐม:กรีนปัญญากานต์,๒๕๕๗

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๑๙

วันที่ ๑๗ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๑

สรรพคุณและประโยชน์ขององุ่น 



ลักษณะของต้นองุ่น
  • ต้นองุ่น จัดเป็นพรรณไม้เลื้อยจำพวกเถา มีความยาวได้ประมาณ ๑๐ เมตร ทั้งต้นมีขนปกคลุม เถาอ่อนผิวเรียบ ตามข้อเถามีมือสำหรับยึดเกาะ และมีขนปกคลุมทั้งต้น ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
  • ใบองุ่น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปกลมรี กลมรี หรือกลมรูปไข่ มีหยักคล้ายรูปฝ่ามือ หนึ่งใบจะมีรอยเว้าประมาณ ๓-๕ รอย ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเข้าหากันเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย เนื้อใบบาง ใต้ใบมีขนปกคลุม ความยาวและความกว้างของใบมีขนาดพอ ๆ กัน คือกว้างยาวประมาณ ๑๐-๒๐ เซนติเมตร ส่วนก้านใบนั้นยาวประมาณ ๔-๘ เซนติเมตร
  • ดอกองุ่น ออกดอกเป็นช่อตรงข้ามกันใบ ลักษณะกลมยาวใหญ่ ดอกย่อยเป็นสีเหลืองอมสีเขียว แบ่งเป็น ๕ กลีบย่อย แตกออกเป็นแฉก ๕ แฉก มีรังไข่ ๒ อัน ในแต่ละรังไข่จะมีไข่อ่อน ๒ เมล็ด ดอกมีเกสรเพศผู้ ๕ อัน ก้านเกสรเพศผู้จะมีขนาดยาว ส่วนก้านเกสรเพศเมียสั้น กลม เมื่อดอกโรยจะติดผล
  • ผลองุ่น ออกผลเป็นพวง ผลย่อยมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือกลมรีเป็นรูปไข่ ผลเป็นสีเขียว สีม่วงแดง หรือสีม่วงเข้ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ที่ปลูก เปลือกผลจะมีผงสีขาวเคลือบอยู่ เนื้อในผลขององุ่นจะฉ่ำน้ำ ภายในมีเมล็ดประมาณ ๑-๓ เมล็ด ลักษณะของเมล็ดองุ่นเป็นรูปยาวรี


สรรพคุณขององุ่น 
๑.ผลมีรสหวาน เปรี้ยวเล็กน้อย เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อปอด ม้าม ไต และช่วยบำรุงโลหิต 
๒.ผลมีสรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง 
๓.ช่วยลดความดันโลหิตสูง
๔.ช่วยลดไขมันในเลือด
๕.ช่วยต่อต้านโรคมะเร็ง
๖.ช่วยแก้อาการหัวใจเต้นผิดปกติ และเหงื่อออกแบบไม่รู้ตัว
๗.มีสรรพคุณแก้เลือดน้อย โลหิตจาง
๘.ช่วยแก้อาการไอ ไอเรื้อรัง 
๙.ช่วยรักษาอาการอาเจียนเป็นเลือด โดยใช้รากองุ่นสด
๑๐.น้ำมันจากเมล็ดองุ่นช่วยเป็นยาระบาย

ที่มา : วิทยา บุญวรพันธ์.สรรพคุณและประโยชน์ขององุ่น.กรุงเทพฯ:เจเนซิส มิเดียคอม,๒๕๕๖

วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2561

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๑๘

วันที่ ๔ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑

ประโยชน์ของแครอทม่วง



     ■ แครอทม่วงมีถิ่นกำเนิดมาจาก "อาฟกานิสถาน" รูปร่างภายนอกจะเป็นเนื้อสีม่วง และภายในเป็นเนื้อสีส้มอมเหลือง เหมือนเนื้อแครอททั่วไป แครอทม่วง มีสารเบต้าเคโรทีนมากกว่าแครอททั่วไป และมีสารแอนโทไซยานิน ที่มีส่วนประกอบหลักอยู่ในผักสีม่วง ทำหน้าที่ต้านสารอนุมูลอิสระ ซึ่งยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง ช่วยขยายหลอดเลือด ให้หลอดเลือดแข็งแรง ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และมีสารต้านการอักเสบได้ดี 

  ประโยชน์โดยทั่วไป
🔸๑.วิตามิน A จะช่วยในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งแครอทอุดมไปด้วยวิตามิน A ซึ่งอยู่ในรูปของเบต้าแคโรทีนนั่นเอง
🔸๒.ช่วยชะลอการแก่ เนื่องจากแครอทมีสารต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมากและเจ้าอนุมูลอิสระก็เป็นสาเหตุของปัญหาผิว ริ้วรอย ผิวหนังอักเสบ
🔸๓.ป้องกันผิวจากแสงแดด เนื่องจากแครอทอุดมไปด้วยแคโรทีนอยด์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับแสงแดด และช่วยรักษาผิวไหม้จากแดดด้วยการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
🔸๔.เสริมสร้างการสร้างคอลลาเจนโดยวิตามิน C ในแครอทจะช่วยสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนที่สำคัญ สำหรับความยืดหยุ่นของผิว ลดริ้วรอย ชะลดการแก่
🔸๕.ช่วยลดความหมองคล้ำ จุดด่างดำ สีผิวไม่สม่ำเสมอ
🔸๖.ลดและปกป้องผิวจากการเกิดสิว เนื่องจากแครอทจะมี essential oil ที่จะช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานเป็นปกติ ก็จะช่วยลดการเกิดสิวได้
🔸๗.รักษาแผลเป็น ในประโยชน์ของแครอทการมีผลทางการรักษาบรรเทาแผลเป็นด้วย วิตามิน A ที่มากในแครอทและเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยในการสร้างเซลล์เนื้อเยื่อ




ที่มา : ดร.ทอม อู๋.ประโยชน์ของแครอทม่วง.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แจ่มใส,๒๕๕๘

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๑๗

วันที่ ๔ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๑

ฟ้าทะลายโจร..สมุนไพรต้านหวัด



💁 สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร
    -ทุกส่วนของฟ้าทะลายโจรจะมีรสขม จึงมีคุณสมบัติเป็นยาได้ดี โดยสรรพคุณหลักๆของฟ้าทะลายโจรมี ๔ ประการ คือ
๑.แก้ไข้ทั่วไป เช่นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรองว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจรช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดได้ เนื่องจากมีฤทธิ์สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ผู้ที่เป็นหวัดหรือร้อนในเมื่อได้ทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรเข้าไปสามารถช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น และยังสามารถช่วยให้หายจากการเป็นหวัดได้ 
๒.ระงับอาการอักเสบ เช่น อาการไอ เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิล หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนังฝี ฯลฯ
๓.แก้อาการติดเชื้อ เช่น ท้องเสีย กระเพาะ หรือลำไส้อักเสบ เป็นต้น
๔.เป็นยาขม  ช่วยให้เจริญอาหาร 

   ทั้งนี้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรสามารถเสริมภูมิต้านทานได้ดีกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะ อีกทั้งยังไม่เกิดอาการง่วงนอน หรือดื้อยา เหมือนกับยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันตับ จากสารพิษหลายๆชนิด เช่น จากยาแก้ไขพาราเซตามอล หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 


ที่มา : กองบรรณาธิการ.ฟ้าทะลายโจร...สมุนไพรต้านหวัด.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แบงค์คอกบุ๊ค,๒๕๕๗