วันพุธที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๒๒

วันที่ ๑๗ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๑



ประโยชน์ทั่วไปของว่านหางจระเข้
  1. ช่วยป้องกันการเกิดฝ้าได้เป็นอย่างดี เพียงนำว่านหางจระเข้มาใช้เป็นประจำทุกวัน
  2. ใช้วุ้นของว่านหางจระเข้ผสมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า จะช่วยรักษาอาการผมร่วงได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยป้องกันหนังศีรษะล้านได้
  3. นำวุ้นของว่านหางจระเข้มาชโลมลงบนเส้นผม จะทำให้เส้นผมมีความสลวย ผมดกและมีความเงางามมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นมันยังช่วยป้องกันปัญหาการเกิดรังแคบนหนังศีรษะ ช่วยบำรุงต่อมที่รากผมให้มีสุขภาพที่ดี และช่วยรักษาแผลที่เกิดจากการเกาบนหนังศีรษะได้อีกเช่นกัน
  4. มีผลการทดลองในการใช้วุ้นของว่านหางจระเข้มารักษาคนไข้ที่เป็นแผลกดทับได้จนเห็นผล
  5. ว่านหางจระเข้มีส่วนช่วยในการลบท้องลาบหลังคลอดบุตร โดยการใช้วุ้นของว่านหางจระเข้มาทาในบริเวณท้องเป็นประจำทั้งในขณะที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์ไปจนถึงหลังคลอด
  6. การใช้วุ้นของว่านหางจระเข้มาทาในบริเวณที่เป็นเส้นเลือดขอดเป็นประจำทุกวัน จะช่วยแก้เส้นเลือดขอดเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี
  7. สารที่อยู่ในว่านหางจระเข้ที่มีชื่อว่า Aloctin A เป็นสารที่สามารถรักษาโรคหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง โรคผิวหนัง หรือแม้แต่รักษาอาการแพ้ต่างๆ ได้เช่นกัน
  8. สามารถนำเอาวุ้นของว่านหางจระเข้มาทำเป็นของหวานเพื่อสุขภาพได้ เช่น วุ้นว่านหางจระเข้ลอยแก้ว วุ้นว่างหางจระเข้แช่อิ่ม หรือจะนำวุ้นว่านหางจระเข้มาปั่นเป็นเครื่องดื่มสุขภาพก็ได้
  9. ว่านหางจระเข้มีส่วนช่วยในการชะลอความแก่ชราได้ รวมทั้งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
  10. ว่านหางจระเข้เป็นสมุนไพรที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโนหลากหลายชนิด รวมทั้งสารอาหารชนิดต่างๆ ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย อีกทั้งยังให้ประโยชน์ในหลายด้านแก่สุขภาพของคนเรา เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินบี 9 วิตามินบี 12 วิตามินซี วิตามินอีและโคลีน
  11. มีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร รวมทั้งช่วยทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ เสมือนเป็นการดีท็อกซ์ล้างสารพิษที่อยู่ภายในร่างกายให้หมดไป แถมยังช่วยให้ระบบการทำงานของกระเพาะอาหารทำงานได้ดียิ่งขึ้น ไม่เพียงเท่านั้นมันยังช่วยลดปริมาณของเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ได้เป็นอย่างดี
  12. สารสกัดจากว่านหางจระเข้นั้นมีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลภายในร่างกาย ช่วยในการควบคุมความดันโลหิต และยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ที่สำคัญยังสามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจได้
  13. การทานเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้ จะช่วยป้องกันและช่วยแก้อาการเมารถเมาเรือได้เป็นอย่างดี
  14. การนำวุ้นว่านหางจระเข้มาทาบริเวณผิวเป็นประจำทุกวัน จะเป็นการช่วยป้องกันอีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้
  15. ใครที่ต้องการมีผิวพรรณที่เนียนนุ่มและแลดูชุ่มชื้นตลอดเวลา ควรใช้ว่านหางจระเข้มาพอกให้ทั่วบริเวณผิวประมาณ 15 นาที แล้วจึงค่อยล้างออกด้วยน้ำสะอาด นอกจากนี้ ว่านหางจระเข้ยังช่วยป้องกันการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้อย่างน่าพึงพอใจ
  16. ว่านหางจระเข้มีส่วนช่วยยับยั้งการติดเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิว อีกทั้งยังช่วยลดรอยดำจากสิวให้จางลง และยังช่วยลดความมันบนใบหน้าได้ เนื่องจากว่านหางจระเข้จะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ที่ช่วยลดความมันได้ แต่ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ใช้กับผู้ที่เป็นสิวอักเสบ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  17. มีส่วนช่วยในการรักษาจุดด่างดำบนผิวหนังที่มาจากการเผชิญกับแสงแดดหรือจากการมีอายุที่มากขึ้น เพียงแค่นำวุ้นว่านหางจระเข้จากใบสดมาทาที่ผิววันละ 2 ครั้งหลังอาบน้ำ จะช่วยรักษาอาการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
ว่านหางจระเข้ 

สรรพคุณทางยาของว่านหางจระเข้



  1. ทานเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้งเป็นประจำทุกวันจะช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อให้ดีขึ้นกว่าเดิม
  2. นำวุ้นว่านหางจระเข้มารักษาแผลสด แผลจากการโดนของมีคม และแผลที่ริมฝีปาก โดยนำวุ้นมาแปะตรงบริเวณแผลให้มิดชิด ตามด้วยการใช้ผ้ามาปิดทับไว้
  3. ช่วยรักษาแผลถลอกและจากการถูกครูด ซึ่งแผลประเภทนี้จะให้ความเจ็บปวดอย่างมาก ดังนั้นจึงควรใช้วุ้นว่านหางจระเข้มาทาแผลแต่เพียงเบาๆ โดยเริ่มจากวันแรกควรทาบ่อยๆ เพื่อเป็นการสมานแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น อีกทั้งยังไม่ทำให้มีอาการเจ็บแผลมาก
  4. นำว่านหางจระเข้มาฝานบางๆ แล้วนำไปแปะไว้ที่แผลไฟไหม้ แผลจากการโดนน้ำร้อนลวก จะช่วยบรรเทาอาการปวดของแผลได้ ทั้งนี้ยังช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น และยังช่วยในการดับพิษร้อน เพื่อบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อนได้
  5. วุ้นว่านหางจระเข้ช่วยทำให้แผลเป็นจางลงได้เร็ว อีกทั้งยังสามารถป้องกันไม่ให้เกิดรอยแผลเป็นบนผิวได้ด้วย
  6. มีส่วนช่วยรักษาตาปลาและฮ่องกงฟุต โดยการใช้วุ้นจากใบว่านหางจระเข้มาล้างให้สะอาด จากนั้นนำมาปิดไว้ตรงบริเวณที่เป็น และควรหมั่นเปลี่ยนวุ้นว่านหางจระเข้บ่อยๆ จนกว่าจะดีขึ้น
  7. นำวุ้นว่านหางจระเข้มาทาลงบนผิวก่อนออกไปเผชิญกับแสงแดด จะช่วยป้องกันผิวจากอันตรายของแสงแดดได้ แถมยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง ไม่ให้เกิดปัญหาผิวแห้งกร้านได้อีกเช่นกัน
  8. นำวุ้นว่านหางจระเข้มาทาผิวบ่อยๆ จะช่วยรักษาอาการผิวหนังไหม้จากแสงแดด ผิวหนังไหม้จากการฉายรังสี หรือจากการเป็นแผลเรื้อรังที่เกิดจากการฉายรังสีได้เช่นกัน
  9. รักษาฝ้าด้วยการนำวุ้นจากใบว่านหางจระเข้มารักษาให้จางลงได้
  10. วุ้นของว่านหางจระเข้ช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงิน ซึ่งมันจะช่วยลดการตกสะเก็ดและลดอาการคันของโรคดังกล่าวได้
  11. รับประทานเนื้อวุ้นว่านหางจระเข้ จะช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถนำวุ้นมาทำเป็นเครื่องดื่มด้วยการปั่นวุ้นก็ได้เช่นกัน
  12. ว่านหางจระเข้จะช่วยแก้อาการปวดศีรษะได้ เพียงตัดใบสดของว่านหางจระเข้ จากนั้นทาปูนแดงด้านหนึ่ง แล้วจึงนำเอาด้านที่ทาปูนไปปิดตรงขมับ วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้เป็นอย่างดี
  13. วุ้นว่านหางจระเข้มีส่วนช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะในขณะที่ท้องว่าง และช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารด้วยเช่นกัน
  14. นำว่านหางจระเข้มาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น แล้วนำมาทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ จะช่วยรักษากระเพาะลำไส้อักเสบ
  15. ในส่วนของเปลือกว่านหางจระเข้นั้นจะมีน้ำยางสีเหลือง ซึ่งในน้ำยางนั้นจะมีสารที่เรียกว่าสารแอนทราควิโนน ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ดังนั้นเมื่อนำน้ำยางไปเคี่ยวจนน้ำมันระเหยออกมา จากนั้นพักไว้ให้เย็น จะได้สารสีดำหรือที่เรียกว่ายาดำ ซึ่งยาตัวนี้จะเป็นยาที่อยู่ในตำรับยาแผนโบราณที่ใช้เป็นยาระบายอยู่ในหลายตำรา
  16. เอายางจากว่านหางจระเข้มาเคี่ยวให้งวด จากนั้นพักไว้ให้เย็นจะได้ก้อนยาสีดำ หลังจากนั้นตักมาประมาณ 1 ช้อนชา แล้วเติมน้ำเดือดประมาณ 1 ถ้วย คนจนละลาย นำมาทานก่อนนอน จะช่วยรักษาอาการท้องผูกได้ดี
  17. การใช้เนื้อวุ้นว่านหางจระเข้ที่ผ่านการเหลาให้เป็นปลายแหลมเพียงเล็กน้อย จากนั้นนำไปแช่ตู้เย็นไว้เพื่อให้วุ้นแข็งตัว แล้วนำไปเหน็บในช่องทวารหนัก จะช่วยรักษาโรคริดสีดวงได้ ทั้นี้ควรทำเป็นประจำวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าโรคดังกล่าวจะหาย
  18. ในส่วนของรากและเหง้าของว่านหางจระเข้นั้นจะมีส่วนช่วยในการแก้อาการหนองใน ช่วยแก้มุตกิด หรือที่หลายคนรู้จักในอีกชื่อคือระดูขาวของสตรี
ข้อควรระวัง : ก่อนใช้ว่าน ทอสอบดูว่าแพ้หรือไม่ โดยเอาวุ้นทาบริเวณท้องแขน ด้านใน ถ้าผิวไม่คันหรือแดงก็ใช้ได้
ที่มา : สุโรจน์ สารพิน.ว่านหางจระเข้.กรุงเทพฯ:มาร์เก็ตบุ๊ค,๒๕๕๕

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น