วันพุธที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๑๖

วันที่ ๒๗ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐

ประโยชน์ของผักโขม



   👉ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ผักโขมเป็นไม้พุ่มเตี้ยและเป็นพืชล้มลุกปีเดียว สูง ๓๐-๑๐๐ ซม. ลำต้นอวบน้ำมีสีเขียวตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก โคนมีสีแดงน้ำตาล ใบเป็นใบเดียวรูปไข่คล้ายสามเหลี่ยม ใบออกแบบสลับ กว้าง ๒.๕-๘ ซม. ยาว ๓.๕-๑๒ ซม. ผิวเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบ หลังให้เป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นดอกช่อสีม่วงปนเขียว ออกดอกเป็น ช่อตามซอกใบ และปลายกิ่งดอกย่อยเรียงตัวอัดกันแน่น เมล็ดมีลักษณะกลมสีน้ำตาลเกือบดำ ขนาดเล็ก
   👉การใช้ประโยชน์
●ทางอาหาร > ยอดอ่อน ใบอ่อน ต้นอ่อน นำมาต้ม ลวก หรือนึ่งให้สุก เป็นผักจิ้มน้ำพริก เช่น น้ำพริกปลาร้า ปลาจ่อม กะปิ ปลาทูและน้ำพริกอีกหลายชนิด หรือนึ่งพร้อมกับปลาทำผัดผักกับเนื้อสัตว์ นำไปปรุงเป็นแกง เช่น แกงเลียง เป็นต้น
●ทางยา > ดับพิษภายในและภายนอก แก้บิด มูกเลือด ริดสีดวงจมูก ริดสีดวงทวาร แก้ผื่นคัน แก้รำมะนาด รักษาฝี แผลพุพอง ใบสด>รักษาแผลพุพอง ต้น>แก้อาการแน่นหน้าอกและไอ หอบ ราก>ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ



ที่มา : เดชา ศิริภัทร.คุณค่าของผักโขม.กรุงเทพฯ:นิตยสารหมอชาวบ้าน,๒๕๕๗



บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๑๕

วันที่ ๒๗ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐

ประโยชน์ของมะละกอ



      มะละกอผลไม้ที่สามารถทานได้ทั้งดิบและสุก ซึ่งก็มีรสชาติอร่อย และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการทานแบบสดๆ นำมาทำส้มตำและนอกจากการนำมาใช้ประโยชน์แล้ว มะละกอก็ยังให้ประโยชน์อีกมากมายที่จะช่วยบำรุงสุขภาพให้แข็งแรงและต้านโรคร้ายได้อีกด้วย โดยประโยชน์ของมะละกอ มีดังนี้
      👉 ต้านโรคมะเร็ง
เพราะมะละกอมีสารไลโคปีนที่จะช่วยในการต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก 
      👉 บำรุงหัวใจ 
มะละกอมีส่วนช่วยในการบำรุงหัวใจให้แข็งแรง เพราะสามารถป้องกัน การเกิดไขมันอุดตันเส้นเลือดหรือโรคหัวใจขาดเลือดได้เป็นอย่างดี
      👉 ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น
เนื่องจากมะละกอเป็นผลไม้ที่ย่อยง่าย จึงทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้นและสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี
      👉 บรรเทาอาการท้องผูก
มะละกอมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆและมีเส้นใยสูงจึงสามารถบรรเทาอาการท้องผูกได้ดี แถมยังลดความเสี่ยงการเป็นโรคริดสีดวงทวารอีกด้วย ดังนั้นใครที่มีปัญหาท้องผูกเป็นประจำ การทานมะละกอก็จะช่วยให้แก้อาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี และสามารถปรับระบบขับถ่ายให้เป็นปกติได้ดี



ที่มา : หทัยรัตน์ อุไรรงค์.เอกสารวิชาการมะละกอ.นครปฐม:กรมวิชาการเกษตร,๒๕๔๘


วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๑๔

วันที่ ๒๐ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐

อาหารที่ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นในหน้าหนาว


●อาหารในกลุ่มธัญชาติ
                  

       - อาหารกลุ่มนี้จะรวมถึงส่วนของเมล็ดทั้งหมดซึ่งเต็มไปด้วยคุณค่าทางอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆมากมายในอาหารที่ช่วยในการย่อย เช่น เมล็ดฟักทอง งาขาว งาดำ 

●อาหารในกลุ่มถั่วเปลือกแข็ง


       - อาหารกลุ่มนี้มีไขมันสูง แต่เป็นไขมันที่ดีต่อร่างกาย ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคหัวใจ ให้พลังงานสูง ซึ่งช่วยให้ร่างกายรู้สึกอบอุ่นเพิ่มมากขึ้น

●อาหารในกลุ่มเนื้อสัตว์

      - ในเนื้อสัตว์ส่วนมากมีไขมันประเภทอิ่มตัว ซึงเป็นไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกายทำให้เกิดโรคไขมันในเลือดแต่จะมีไขมันสัตว์บางชนิดที่ดีต่อร่างกาย เช่น ปลาทะเลและสัตว์บางชนิด ที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ ปลาทะเลน้ำลึก ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลากะพง

●อาหารในกลุ่มเครื่องเทศและสมุนไพร
  ขิง                    
      สมุนไพรพื้นบ้านที่มีรสชาติเผ็ดร้อนช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น ลดการเกิดไข้หวัด
  กระเทียม
      ความร้อนของกระเทียมช่วยให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น หากเป็นกระเทียมสดจะยังมีน้ำมันหอมระเหยมากกว่า สารในกระเทียมช่วยฆ่าแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดคออักเสบและโรคหวัดในฤดูหนาวได้
  หัวหอม 
      หัวหอมมีคุณสมบัติทำให้ร่างกายอบอุ่น เพิ่มภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย แต่ควรระวังเพราะหากกินมากเกินไปอาจเกิดการร้อนในได้

พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ควรทำในหน้าหนาว
 ●การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
     ฤทธิ์แอลกอฮอล์จะทำให้หลอดเลือดฝอยที่อยู่ใต้ผิวหนังขยายตัวทำให้เกิดความรู้สึกร้อนขึ้น แต่ร่างกายจะยิ่งขับความร้อนออกนอกร่างกาย ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลงจะยิ่งหนาวมากขึ้นตอนหลัง ถ้าดื่มเป็นประจำยิ่งเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และหลอดเลือดและโรคเบาหวาน


ที่มา : จรรยา เลิศพงษ์ไทย.อาหารที่ช่วยให้ร่างกายอบอุ่นในหน้าหนาว.นครสวรรค์:E-idea๑๖๘,๒๕๕๕





บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๑๓

วันที่ ๒๐ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐

รับมืออย่างไร...เมื่อข้อเท้าแพลง



      ข้อเท้าแพลง(ankle sprain) เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้คาดคิด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ข้อเท้าแพลงนั้นก็มีหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากอุบัติเหตุรอบตัว การออกกำลังกาย เป็นต้น
    
สาเหตุหลักๆที่ทำให้ข้อเท้าแพลง
๑.อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
      ในปัจจุบันสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการข้อเท้าแพลงมาจากอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆเป็นส่วนใหญ่ เช่น ตกบันได ก้าวพลาด ตกส้นสูง เท้าพลิก เป็นต้น
๒.อุบัติเหตุจากการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา
       อาการเท้าแพลงที่เกิดขึ้นมากที่สุดจะมาจากการออกกำลังกายโดยอาการที่เท้าแพลงที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะมาจากการที่เอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้านั้นฉีกขาด เลยทำให้ข้อเท้าไม่มั่นคง ซึ่งกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการเท้าแพลงนั้น เช่น วิ่ง หกล้ม เล่นกีฬา ข้อเท้าพลิก เป็นต้น
๓.อุบัติเหตุจากการสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะกับขนาดเท้าโดยสำหรับผู้หญิงที่ใช้รองเท้าส้นสูงจะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ข้อเท้าพลิกขณะสวมใส่ทำกิจกรรมได้


ลักษณะอาการเบื้องต้น
ระดับที่ ๑ : มีอาการปวด บวม กดแล้วเจ็บที่บริเวณเท้า
ระดับที่ ๒ : เอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้ามีการฉีกขาดบางส่วนปวดบวมที่บริเวณเท้ามาก
ระดับที่ ๓ : ระดับนี้รุนแรงที่สุดเอ็นที่บริเวณเท้ามีการฉีกขาดทั้งหมด เดินลงน้ำหนักไม่ได้

หลักการ R.l.C.E (ปฐมพยาบาลเบื้องต้น)
๑.R-Rest นั่งพักเพื่อสังเกตุอาการจากข้อเท้าแพลงว่ารุนแรงไหม
๒.l-lce ประคบเย็นเพื่อลดบวมและช่วยให้เลือดออกน้อยลง โดยประคบเย็นประมาณ ๑๕ นาที ทุกๆ ๒ ชั่วโมง ข้อห้ามไม่ควรประคบร้อน หรือนวดบริเวณที่เกิดการบวมเจ็บในระยะแรกเพราะจะทำให้บวมมากยิ่งขึ้น
๓.C-Compression ใช้ผ้าพันบริเวณที่บวมและพยายามไม่เคลื่อนไหว ถ้าไม่จำเป็นเพราะจะทำให้ปวดในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
๔.E-Evaluation ยกปลายเท้าให้สูงขึ้น เพื่อลดบวมและลดความเจ็บปวด

ที่มา : เทพ หมอชิด.รับมืออย่างไร...เมื่อข้อเท้าแพลง.กรุงเทพฯ:สโมสรนิสิตคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๖๐

วันพฤหัสบดีที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๑๒

วันที่ ๑๔ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐

สารเสพติด



     สารเสพติดสารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารสังเคราะห์ขึ้นเมื่อนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใดๆแล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ
      
ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพ ดังนี้
    ๑.เกิดอาการดื้อสาร หรือต้านสาร และเมื่อติดแล้ว ต้องการใข้สารนั้นในปริมาณที่มากขึ้น
    ๒.เกิดอาการขาดสาร ถอนสาร หรือสารกสาร เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
    ๓.มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
    ๔.สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลงเกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคมและประเทศชาติ

การออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท แบ่งออกเป็น ๔ ประเภทคือ
    ๑.สารเสพติดประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน สารระเหย และสารกล่อมประสาท
    ๒.สารเสพติดประเถทกระตุ้นประสาท ได้แก่ แอมเฟตามีน กระท่อมและโคเคอีน
    ๓.สารเสพติดประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี ดีเอ็มพี และเห็ดขี้ควาย
    ๔.สารเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน กล่าวคือ อาจกดกระตุ้นหรือหลอนประสาทได้พร้อมๆกัน ตัวอย่างเช่น กัญชา 


ที่มา : กิตติพงศ์ ไพชิต.สารเสพติด.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วน จำกัด ไอเดีย สแควร์,๒๕๖๐

     

บันทึกการอ่านครั้งที่ ๑๑

วันที่ ๑๔ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐

ระบบประสาทและการทำงาน



        ระบบประสาทมีหน้าที่ควบคุมและประสานการทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย หลังจากที่รวบรวมข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีความสัมพันธ์กับระบบต่างๆของร่างกายก็จะมีการวิเคราะห์และการสั่งให้มีการตอบสนองที่เหมาะสมเพื่อรักษาสมดุลต่างๆของร่างกาย ตอบสนองต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งความต้องการที่สำคัญที่สุดของร่างกายคือเพื่อให้ตัวเองอยู่รอด จะพูดได้อีกอย่างก็คือ ระบบประสาททำให้คนเรามีชีวิตและการตอบสนองนั่นเอง 

ระบบประสาทของมนุษย์แบ่งออกได้เป็น ๒ ส่วนดังนี้
๑.ระบบประสาทส่วนกลาง มีอวัยวะที่เกี่ยวข้องดังนี้ 
    ๑.๑.สมอง(Brain) สมองของสันกระดูกหลังที่สำคัญแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนดังนี้
         -เซรีบรัมเฮมิสเฟียร์ 
         -เมดัลลาออบลองกาตา
         -เซรีเบลลัม
    ๑.๒.ไขสันหลัง
    ๑.๓.เซลล์ประสาท
๒.ระบบประสาทรอบนอก จำแนกตามลักษณะการทำงานได้ ๒ แบบ
    ๒.๑.ระบบประสาทภายใต้อำนาจจิตใจ
    ๒.๒.ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ


ที่มา : สมนึก นิลบุหงา.ระบบประสาทและการทำงาน.กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๕๕


วันพฤหัสบดีที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๑๐

วันที่ ๗ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐

 อาหารบำรุงเลือด ป้องกันโลหิตจาง



๑.เลือดสัตว์ ตับสัตว์ เนื้อสัตว์ต่างๆ
        อาหารเหล่านี้จะมีธาตุเหล็กอยู่มาก ซึ่งเจ้าธาตุเหล็กเหล่านี้นี่แหละจะช่วยบำรุงโลหิต และธาตุเหล็กที่มาจากสัตว์ ลำไส้จะดูดซึมไปใช้ได้มากกว่าธาตุเหล็กที่มาจากพืช

๒.ผักใบเขียวเข้ม
        อีกหนึ่งทางเลือกของคนที่ทานมังสวิรัติ แม้ว่าธาตุเหล็กที่ได้จากพืชจะไม่มากเท่าจากสัตว์ แค่ก็ควรทานก่อนจะอยู่ในภาวะขาดธาตุเหล็ก ผักที่แนะนำ ได้แก่ คะน้า บล็อกโคลี่ ผักบุ้ง หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม

๓.ไข่
        เป็นอีกหนึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง ส่วนใหญ่คือ "โปรตีน" แต่ก็ยังมีปริมาณของธาตุเหล็กที่จะช่วยบำรุงโลหิตของเราให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ "ไข่แดง" จะมีธาตุเหล็กสูงกว่าไข่ขาว

๔.ธัญพืชต่างๆ
        ถั่วชนิดต่างๆ เช่น ถั่วแดง ถั่วดำ อัลมอนด์ รวมไปถึงข้าวโอ๊ต และจมูกข้าวสาลี่ ก็เป็นแหล่งอาหารที่นอกจากจะมีโปรตีนที่ดีต่อการเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงแล้วยังมีธาตุเหล็กที่ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และบำรุงโลหิตอีกด้วย

๕.อาหารทะเล
        อาหารทะเลอย่างปลา กุ้ง ปลาหมึก ปู อุดมไปด้วยโปรตีนและแร่ธาตุต่างๆมากมาย รวมไปถึงธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงโลหิตอีกด้วย แต่อย่าทานมากเกินไป เพราะอาหารทะเลที่อร่อยสุดๆมักมาพร้อมกับปริมาณแคลอรี่ และคอเลสเตอรอลที่มากตามไปด้วย
      
      นอกจากอาหารแล้ว ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโลหิตจาง ควรออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอจะได้ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู สร้างเม็ดเลือดแดงดีๆไว้บำรุงร่างกายให้แข็งแรง



ที่มา : รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานุภาพ.อาหารบำรุงเลือดป้องกันเลือดจาง.กรุงเทพฯ:หมอชาวบ้าน,๒๕๖๐

บันทึกการอ่าน ครั้งที่๙

วันที่ ๗ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐

การเดินและการวิ่ง



      การเดิน-วิ่งเป็นกิจกรรมการออกกำลังกายที่ทำได้ง่าย ประหยัดไม่ต้องใช้อุปกรณ์อาศัยเพียงแค่สถานที่วิ่งที่เหมาะสม มีอากาศถ่ายเทสะดวก แถมยังเป็นกิจกรรมการออกกำลังกายที่ดีต่อระบบต่างๆทั้งภายในและภายนอกร่างกาย

ประโยชน์ของการเดิน-วิ่ง
       การเดิน-วิ่งเป็นประจำส่งผลดีต่อร่างกายทุกระบบทั้งร่างกาย และจิตใจและลดอาการบาดเจ็บจากการวิ่ง
      -ด้านสุขภาพพื้นฐานทั่วไป   ช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้ปกติ การทำงานของหัวใจ ปอด และการหายใจดีขึ้น เพิ่มความฟิตให้ร่างกาย และสมบูรณ์ให้กับร่างกาย ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อทำให้ส่วนต่างๆของร่างกายทำงานได้ดีขึ้นและช่วยลดบรรเทาในการเกิดโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันเลือด โรคเบาหวาน ช่วยลดระดับไขมันในเลือด และช่วยในการลดน้ำหนัก และควบคุมน้ำหนักได้  และยังสามารถช่วยให้ด้านสุขภาพจิต และอารมณ์ดีขึ้น ช่วยทำให้ลดระดับความเครียดลง

ระยะทางและเวลาในการเดิน-วิ่ง
       โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ ๑๕๐ นาที/สัปดาห์ อาจเป็นการเดินหรือวิ่ง วันละ ๔๐-๕๐ นาที สัปดาห์ละ ๓-๔วัน หรือถ้าหากวิ่งแล้วมีอาการเหนื่อยมากพักแล้วไม่หาย ให้ลดเวลาวิ่งลงเหลือ ๗๕ นาที/สัปดาห์ หรือประมาณ ๓๐ นาที สัปดาห์ ๓วัน ก็ได้

ที่มา : นพ.ภัทรภณ อติเมธิน.การเดินและการวิ่งเพื่อสุขภาพ.กรุงเทพฯ:วิง มิเดีย,ม.ป.ป.