วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการอ่าน ครั้งที่ ๑๓

วันที่ ๒๐ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๐

รับมืออย่างไร...เมื่อข้อเท้าแพลง



      ข้อเท้าแพลง(ankle sprain) เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้คาดคิด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ข้อเท้าแพลงนั้นก็มีหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากอุบัติเหตุรอบตัว การออกกำลังกาย เป็นต้น
    
สาเหตุหลักๆที่ทำให้ข้อเท้าแพลง
๑.อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
      ในปัจจุบันสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการข้อเท้าแพลงมาจากอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆเป็นส่วนใหญ่ เช่น ตกบันได ก้าวพลาด ตกส้นสูง เท้าพลิก เป็นต้น
๒.อุบัติเหตุจากการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา
       อาการเท้าแพลงที่เกิดขึ้นมากที่สุดจะมาจากการออกกำลังกายโดยอาการที่เท้าแพลงที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะมาจากการที่เอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้านั้นฉีกขาด เลยทำให้ข้อเท้าไม่มั่นคง ซึ่งกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการเท้าแพลงนั้น เช่น วิ่ง หกล้ม เล่นกีฬา ข้อเท้าพลิก เป็นต้น
๓.อุบัติเหตุจากการสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะกับขนาดเท้าโดยสำหรับผู้หญิงที่ใช้รองเท้าส้นสูงจะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ข้อเท้าพลิกขณะสวมใส่ทำกิจกรรมได้


ลักษณะอาการเบื้องต้น
ระดับที่ ๑ : มีอาการปวด บวม กดแล้วเจ็บที่บริเวณเท้า
ระดับที่ ๒ : เอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้ามีการฉีกขาดบางส่วนปวดบวมที่บริเวณเท้ามาก
ระดับที่ ๓ : ระดับนี้รุนแรงที่สุดเอ็นที่บริเวณเท้ามีการฉีกขาดทั้งหมด เดินลงน้ำหนักไม่ได้

หลักการ R.l.C.E (ปฐมพยาบาลเบื้องต้น)
๑.R-Rest นั่งพักเพื่อสังเกตุอาการจากข้อเท้าแพลงว่ารุนแรงไหม
๒.l-lce ประคบเย็นเพื่อลดบวมและช่วยให้เลือดออกน้อยลง โดยประคบเย็นประมาณ ๑๕ นาที ทุกๆ ๒ ชั่วโมง ข้อห้ามไม่ควรประคบร้อน หรือนวดบริเวณที่เกิดการบวมเจ็บในระยะแรกเพราะจะทำให้บวมมากยิ่งขึ้น
๓.C-Compression ใช้ผ้าพันบริเวณที่บวมและพยายามไม่เคลื่อนไหว ถ้าไม่จำเป็นเพราะจะทำให้ปวดในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
๔.E-Evaluation ยกปลายเท้าให้สูงขึ้น เพื่อลดบวมและลดความเจ็บปวด

ที่มา : เทพ หมอชิด.รับมืออย่างไร...เมื่อข้อเท้าแพลง.กรุงเทพฯ:สโมสรนิสิตคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,๒๕๖๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น